ความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างเข้ามามีบทบาทในสถาบันฝึกอบรมผู้นำองค์กรในด้านต่างๆ

ผู้นำนับว่ามีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ ผู้นำจึงต้องอาศัยกลไก ยุทธศาสตร์ เทคนิคหรือกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาพนักงานซึ่งถือว่าเป็นลูกค้าคนสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระบบการศึกษาที่เน้นคุณภาพเป็นหลัก ในทำนองเดียวกันเราต่างถือว่าผู้นำเป็นหัวใจสำคัญต่อการปฏิรูปโรงเรียน โดยที่ผู้นำจำต้องบูรณาการเทคโนโลยีสู่ระบบโรงเรียน ควรดูแลให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนการวางแผนการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความหมาย

โดยเฉพาะปัจจุบันนี้จะเห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของคนไทยอย่างแยกไม่ออก รวมทั้งในระบบการศึกษาถือว่าเป็นระบบเปิดและเป็นกลไกสำคัญที่พัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความรู้ และความสามารถให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดจนการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในระดับสากล เพื่อไปสู่คุณภาพและนำมาพัฒนาสังคมไทยให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในอนาคต

ปัจจุบันนี้ฝ่ายบริหารระดับสูงของโรงงานอุตสาหกรรม ได้มองเห็นถึงความสำคัญของการจัดฝึกอบรมทรัพยากรกำลังคนหรือคนงานในหน่วยงานต่างๆ ให้มีความรู้และความชำนาญ เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ การจัดการฝึกอบรมนอกจากจะช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของคนงานให้ดีขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างทัศนคติและความรับผิดชอบในหน้าที่ของคนงานให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งผลที่ได้จากการฝึกอบรมจะมีส่วนช่วยให้ผลผลิตของโรงงานมีคุณค่าเพิ่มสูงขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุของความบกพร่องทางด้านเทคนิคการผลิต หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สัมผัสและมองเห็นสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยใช้โสตทัศนูปกรณ์อย่างเพียงพอ เลือกวิธีการสอนที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทดลองทำงานจริงๆ เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการฝึกบ่อยครั้งในเวลากำหนด ให้ฝึกจากวิธีง่ายไปหายากตามลำดับการทำงานแต่ละส่วน และตอนสุดท้ายให้ฝึกทำงานตั้งแต่ต้นจนสำเร็จขั้นสุดท้าย

ในส่วนของการให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานในสถานประกอบการก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเครื่องมือแก้ปัญหาของคนในองค์กร อันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จขององค์กรในที่สุด เพราะขึ้นชื่อว่า “คน” ในทุกหนทุกแห่งไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ และศาสนา ย่อมหลีกหนีไม่พ้นกับคำว่า “ปัญหา” พูดง่ายๆว่าปัญหากับคนเป็นของคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ที่ไหนมีคน ที่นั่นมีปัญหา

เมื่อคนหนีไม่พ้นคำว่า “ปัญหา” เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาและกำจัดปัญหาให้กับคนได้ก็คือ การให้คำปรึกษา (Counseling) เป็นทางออกและทางเลือกที่เหมาะสมกับหลายๆ สถานการณ์ในชีวิตคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตของคนที่ทำงานในองค์กร

เราต้องเข้าใจว่าคนที่มีอยู่รวมกันในองค์กรใดองค์กรหนึ่งนั้น มาจากต่างพ่อ ต่างแม่ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างชนชั้น ต่างวรรณะ ต่างวุฒิ ต่างการศึกษา และมีความต่างจิต ต่างใจกันเป็นพื้นฐาน เมื่อเข้าอยู่รวมกันโดยมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว การกระทบกระทั่งกันทั้งเรื่องของงานและเรื่องของส่วนตัวก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มากบ้างน้อยบ้าง สลับกันไปตามอารมณ์ของคนในแต่ละช่วงเวลา

ในทุกสังคม เรามักจะเห็นว่าเมื่อคนบางคนมีปัญหา คนบางคนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งมีทั้งผู้ให้คำปรึกษาเพราะความจำเป็น หรือเป็นผู้ให้คำปรึกษาแบบสมัครใจ มีทั้งผู้ที่มีความสามารถในการให้คำปรึกษาและผู้ที่ขาดความเข้าใจในหลักของการให้คำปรึกษา ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาได้บ้างไม่ได้บ้าง

เมื่อหันมามองในองค์กรของเรา จะพบว่าเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหาเขามักจะหาใครบางคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นผู้ให้คำปรึกษา ถ้าผู้ให้คำปรึกษาสามารถช่วยให้เขาลดระดับของปัญหาลงหรือแก้ปัญหาได้ ครั้งต่อๆไปเมื่อมีปัญหาเขาก็จะเดินเข้ามาหาอีก และคนที่เป็นผู้ให้คำปรึกษานี้จะได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นผู้นำกลุ่มทางจิตใจไปได้เหมือนกัน ถ้าผู้ที่เป็นผู้นำทางจิตใจของคนในองค์กรเป็นคนดีก็ดีไป แต่ถ้าผู้นำทางจิตใจอาศัยความได้เปรียบนี้ไปใช้ในทางที่ไม่สร้างสรรค์อาจจะเกิดปัญหาอันชวนให้ปวดหัวแก่การบริหารงานภายในองค์กรได้เหมือนกัน