5 คุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้นำที่ดี

ผู้นำ

เรื่องของผู้นำนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายองค์กรพยายามที่จะหาวิธีในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะให้ผู้นำเหล่านี้ เป็นผู้ผลักดันความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กร และจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในเรื่องของภาวะผู้นำนั้น ก็ยืนยันว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้น เป็นผลมาจากการที่ผู้บริหารของตนมีภาวะผู้นำ และสามารถนำองค์กร นำคน ให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ต้องเป็นคนที่มองเห็นภาพในอนาคตที่คนอื่นมองไม่เห็น มองเห็นโอกาสในอนาคตได้ และเมื่อมองเห็นภาพอนาคตแล้ว ก็ต้องสามารถกำหนดเป้าหมาย และแผนงานในการไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ฝันเฟื่องเพียงอย่างเดียว

ผู้นำที่ดีจะต้องกระจายงานให้ทีมงานอย่างเหมาะสม เป็นการนำแผนงานที่กำหนดไว้นั้น มากระจายสู่พนักงาน และทีมงาน โดยพิจารณาความเหมาะสมของพนักงานแต่ละคนให้เหมาะกับงานแต่ละอย่าง เพื่อให้เขาสามารถที่จะทำงานได้ตามที่ถนัด รวมทั้งให้โอกาสคนอื่นๆ ได้ทำงาน ผู้นำอาจจะต้องยอมรับความเสี่ยงในเรื่องนี้ กล่าวคือ ยอมที่จะไว้วางใจพนักงาน และเชื่อว่าพนักงานจะสามารถทำงานนั้นได้ ผมเห็นผู้นำหลายคนที่ใช้วิธีนี้กับลูกน้องของตนเอง ก็อาจจะมีลูกน้องที่ทำไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกน้องจะทำเต็มที่เพราะนายไว้ใจอย่างมาก ก็ไม่อยากทำให้นายผิดหวัง

ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างทีมงานได้ จะต้องเป็นคนที่ทำงานให้สำเร็จ โดยเน้นทั้งงาน เน้นทั้งคน และในการสร้างทีมงานที่ดี ผู้นำก็ต้องมีทักษะในการสื่อความที่ดี มีความเป็นธรรมกับพนักงานทุกคนในทีม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เวลาทำงานก็จะเน้นให้ทุกคนร่วมกันทำงาน ไม่มีการทำตัวเด่นเพียงคนเดียว หรือรับแต่ชอบ ไม่ยอมรับผิด

ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานได้ มีพลังในการสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน และกระตุ้นให้พนักงานมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จได้ เหมือนกับที่ Jack Welch อดีต CEO ของ GE ได้ใช้คำว่า Energize ก็คือการทำให้คนอื่นมีพลังในการทำงานอยู่เสมอ

ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้พัฒนาคนอื่นอยู่เสมอ มีความเข้าใจพนักงานที่มีผลงานไม่ดี และพยายามที่จะพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการทำงานมากขึ้น ผู้นำที่ดีจะไม่ด่าพนักงานว่า “ทำไมโง่จัง แค่นี้ยังทำไม่ได้” (ถ้าทำได้ก็คงมาเป็นหัวหน้าของผู้นำคนนี้ไปแล้ว) แต่จะพยายามพัฒนาให้พนักงานทำงานให้ได้ ผู้นำที่ดีจึงเปรียบเสมือนครู ที่สอนพนักงานทั้งด้านความรู้ในการทำงาน และเป็นตัวอย่างสำหรับพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วย

ดังนั้นในการพัฒนาผู้นำที่ดี ก็พยายามพัฒนาใน 5 มุมมองที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็น่าจะทำให้องค์กรของเรามีผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ครับ

บทบาทการผู้นำที่ดี

10 บทบาทการเป็นผู้นำที่ดี

 

Teamwork and team spirit

 

  1. บทบาทการติดตาม คือ บทบาทในการติดตามดูแลการดำเนินการ ติดตามดูความก้าวหน้า และคุณภาพของการปฏิบัติงาน ดูความสำเร็จหรือล้มเหลวในแต่ละโครงการ ผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาสำรวจความต้องการและค่านิยมของลูกค้า ติดตามและวิเคราะห์ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมองค์การที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการและโอกาสต่าง ๆ
  2. บทบาทการให้การสนับสนุน คือการที่ผู้นำให้ความสนใจและความเป็นเพื่อนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจ เห็นใจกันและกัน และให้การสนับสนุนให้ผู้ที่มีความวิตกกังวลในการปฏิบัติงาน ยินดีรับฟังการปรับทุกข์และปัญหาต่าง ๆ รู้ความสนใจของคนอื่น พยายามส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพ
  3. บทบาทการสร้างเครือข่าย คือการพยายามเข้าสังคม เพื่อที่จะได้พบปะกับบุคคลที่เป็นแหล่งข้อมูล และพยายามรักษามิตรภาพนั้นไว้อย่างต่อเนื่อง
  4. บทบาทการขจัดความขัดแย้งและการสร้างทีมงาน คือการกระตุ้นและอำนวยความสะดวกในการหาหนทางในการแก้ไขความขัดแย้ง ผลักดันให้มีการสร้างทีมงานและความร่วมมือ และสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในองค์การและทีมงาน
  5. บทบาทการให้ข้อมูล โดยการบอกให้ทราบถึงข้อมูลและผลการตัดสินใจที่จำเป็นแก่การปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จัดหาเอกสารทางวิชาการที่จำเป็นต่อการทำงาน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเทคนิควิธีในการปฏิบัติการ และวิธีการที่จะเพิ่มพูนภาพพจน์ หรือชื่อเสียงที่ดีขององค์การ
  6. บทบาทในการสร้างความชัดเจน คือการที่ผู้นำต้องสร้างความชัดเจนในภาระหน้าที่และวัตถุประสงค์ของงานต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยการมอบหมายงาน ให้คำชี้แนะวิธีการทำงานและความรับผิดชอบต่องานนั้นที่ชัดเจน กำหนดเวลาในการทำงานและความคาดหวังต่อผลงานให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบอย่างชัดเจน
  7. บทบาทในการวางแผนและจัดองค์การ คือบทบาทของผู้นำในการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนระยะยาว และกลยุทธ์ในการปรับตัวขององค์การต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เสนอกิจกรรมทุกขั้นตอนของการดำเนินการของโครงการต่าง ๆ จัดแบ่งทรัพยากรตามลำดับความสำคัญของกิจกรรม หรือโครงการ ตัดสินวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพผลผลิตและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในองค์การ
  8. บทบาทในการแก้ปัญหา โดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลของปัญหาต่องาน วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุและทางเลือกในการแก้ปัญหา จัดการแก้ปัญหาและวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น
  9. บทบาทในการปรึกษาและมอบหมายงาน คือบทบาทในการที่จะต้องไตร่ถามความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขา กระตุ้นให้เสนอแนะวิธีการปรับปรุง เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานที่สำคัญและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง
  10. บทบาทในการสร้างแรงจูงใจ โดยการใช้เทคนิคในการมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ค่านิยม อันทำให้คนปฏิบัติงานตั้งใจและทุ่มเทความสามารถในการทำงานและยอมรับในวัตถุประสงค์ของงาน ชักจูงแก่บุคคลต่าง ๆ ให้การสนับสนุน ร่วมมือ ช่วยเหลือและทรัพยากรที่จำเป็น รวมทั้งการกำหนดพฤติกรรมที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน

ภาวะการเป็นผู้นำองค์กรในยุคโลกาภิวัตน์

shutterstock_115418047ปัจจุบันนี้ธุรกิจหรือองค์กรต่างมีการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น การบริหารองค์กรหรือการจัดการยุคใหม่นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการผู้นำในการบริหารองค์กรที่มีวิสัยทัศน์และเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคนคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการองค์กร เพราะองค์กรจะเจริญเติบโตขึ้นก็เพราะพนักงานทุกคนในองค์กร ผู้นำที่สามารถสร้างพลังแห่งความศัทธาให้กับพนักงานในองค์กรได้ หรือสามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ให้บุคคลในองค์กรได้รับรู้ได้ก็จะเป็นผู้นำที่ทรงพลังในยุคโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้

เนื่องจากการแข่งขันทางธุรกิจหรือองค์กรธุรกิจในปัจจุบันไม่ได้อยู่แต่เพียงภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและการบริการระหว่างประเทศต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นโลกาภิวัตน์ล้วนมีผลกระทบ เพราะการแข่งขันแบบโลกาภิวัตน์ มุ่งเน้นต่อการสร้างมาตรฐานการบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นแก่ลูกค้า ผู้นำในยุคปัจจุบันต้องมีความแตกต่างจากการบริหารธุรกิจในอดีตเป็นอย่างมาก เพราะความต้องการของลูกค้าและพนักงานมีความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงไป และผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุคโลกาภิวัตน์จะต้องประกอบด้วยการคิดแบบโลกาภิวัตน์ เล็งเห็นเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม พัฒนาความชำนาญทางด้านเทคโนโลยี สร้างคู่ค้าธุรกิจและพันธมิตร และสร้างการมีส่วนร่วมในการเป็นผู้นำ

การมีไมตรีจิต มีน้ำใจต่อกัน สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ย่อมจะมีผลให้เกิดการร่วมมือร่วมใจมากกว่าการใช้อำนาจหน้าที่สั่งการ โดยต้องพยายามผูกมิตรตั้งแต่ต้นและป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ และหากมีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องแจ้งให้ทราบ เพื่อมิให้เกิดความคลาดเคลื่อนและเข้าใจในชุดข้อมูลที่ได้สื่อสารกันแล้วอย่างผิดพลาด ซึ่งการประสานงานที่ดีจะช่วยให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว ทุกคน ทุกฝ่ายมีความเข้าใจถึงนโยบายและวัตถุประสงค์ของหน่วยงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และสิ่งของต่างๆ ในการทำงานจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ชองงานได้มากขึ้น และยังสร้างความกลมเกลียว ความเข้าใจอันดี ความรัก ความสามัคคี และก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม สร้างความสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกัน รวมถึงเข้าใจข้อเท็จจริงและปัญหาของหน่วยงานที่สามารถจะนำไปสู่การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และพิจารณาลู่ทางเพื่อการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย

เทคนิคการฝึกอบรมและการฝึกผู้นำองค์กรในด้านต่างๆ

เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สัมผัสและมองเห็นสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยใช้โสตทัศนูปกรณ์อย่างเพียงพอ เลือกวิธีการสอนที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทดลองทำงานจริงๆ เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการฝึกบ่อยครั้งในเวลากำหนด ให้ฝึกจากวิธีง่ายไปหายากตามลำดับการทำงานแต่ละส่วน และตอนสุดท้ายให้ฝึกทำงานตั้งแต่ต้นจนสำเร็จขั้นสุดท้าย

ในส่วนของการให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานในสถานประกอบการก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเครื่องมือแก้ปัญหาของคนในองค์กร อันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จขององค์กรในที่สุด เพราะขึ้นชื่อว่า “คน” ในทุกหนทุกแห่งไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ และศาสนา ย่อมหลีกหนีไม่พ้นกับคำว่า “ปัญหา” พูดง่ายๆว่าปัญหากับคนเป็นของคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ที่ไหนมีคน ที่นั่นมีปัญหา

เมื่อคนหนีไม่พ้นคำว่า “ปัญหา” เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาและกำจัดปัญหาให้กับคนได้ก็คือ การให้คำปรึกษา (Counseling) เป็นทางออกและทางเลือกที่เหมาะสมกับหลายๆ สถานการณ์ในชีวิตคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตของคนที่ทำงานในองค์กร

เราต้องเข้าใจว่าคนที่มีอยู่รวมกันในองค์กรใดองค์กรหนึ่งนั้น มาจากต่างพ่อ ต่างแม่ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างชนชั้น ต่างวรรณะ ต่างวุฒิ ต่างการศึกษา และมีความต่างจิต ต่างใจกันเป็นพื้นฐาน เมื่อเข้าอยู่รวมกันโดยมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว การกระทบกระทั่งกันทั้งเรื่องของงานและเรื่องของส่วนตัวก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มากบ้างน้อยบ้าง สลับกันไปตามอารมณ์ของคนในแต่ละช่วงเวลา

ในทุกสังคม เรามักจะเห็นว่าเมื่อคนบางคนมีปัญหา คนบางคนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งมีทั้งผู้ให้คำปรึกษาเพราะความจำเป็น หรือเป็นผู้ให้คำปรึกษาแบบสมัครใจ มีทั้งผู้ที่มีความสามารถในการให้คำปรึกษาและผู้ที่ขาดความเข้าใจในหลักของการให้คำปรึกษา ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาได้บ้างไม่ได้บ้าง

เมื่อหันมามองในองค์กรของเรา จะพบว่าเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหาเขามักจะหาใครบางคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นผู้ให้คำปรึกษา ถ้าผู้ให้คำปรึกษาสามารถช่วยให้เขาลดระดับของปัญหาลงหรือแก้ปัญหาได้ ครั้งต่อๆไปเมื่อมีปัญหาเขาก็จะเดินเข้ามาหาอีก และคนที่เป็นผู้ให้คำปรึกษานี้จะได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นผู้นำกลุ่มทางจิตใจไปได้เหมือนกัน ถ้าผู้ที่เป็นผู้นำทางจิตใจของคนในองค์กรเป็นคนดีก็ดีไป แต่ถ้าผู้นำทางจิตใจอาศัยความได้เปรียบนี้ไปใช้ในทางที่ไม่สร้างสรรค์อาจจะเกิดปัญหาอันชวนให้ปวดหัวแก่การบริหารงานภายในองค์กรได้เหมือนกัน

ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการให้คำปรึกษาในองค์กรเกิดขึ้นตามยถากรรม ไร้รูปแบบ ไร้กระบวนยุทธ์ หรือเกิดกระบวนการให้คำปรึกษาแบบลองผิดลองถูก องค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบการให้คำปรึกษาขึ้นภายในองค์กร

ผู้นำองค์กรที่ดีต้องเข้าใจและให้ความสำคัญในการบริการลูกค้า

องค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีผู้นำมีส่วนร่วม ช่วยสนับสนุน ผลักดัน และดำเนินการ จะเป็นพลังงานในระดับสูงที่ช่วยให้ องค์กรขับเคลื่อน และเปลี่ยนแปลงได้อย่างทรงพลัง โดยมีการบริการที่เป็นเลิศ ประกอบไปด้วย

1.เข้าใจความรู้สึกของลูกค้า มองออกว่าลูกค้า รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ต้องการอะไร มีประเด็นอะไรบ้างที่องค์กรควรปรับปรุงในมุมมองของลูกค้า

2.ลงพื้นที่จริง ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงในการให้บริการที่สูงนั้น มักจะหาเวลาไปลงพื้นที่หน้างานจริงเป็นระยะๆ และหมั่นถามเพื่อฝูง บุคคลภายนอก ถึงระดับการบริการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

3.ให้ความสำคัญกับพนักงาน เอาใจใส่พนักงานถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะพนักงานนี่เอง คือ ผู้ชี้ชะตาว่า องค์กรของเรามี บริการที่ดีหรือแย่ ในสายตาของลูกค้า

4.ทำเป็นตัวอย่าง การปฏิบัติงานหรือการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ผู้นำเองจำเป็นต้องเป็นผู้คำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้า ให้แง่คิด มุมมองที่เป็นปนะโยชน์ต่อลูกค้าเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของทีมงาน

5.ระบบประเมินผลและจูงใจ เพราะการที่องค์กรมีระบบประเมินผลงานที่ดี แยกแยะว่าใครบริการได้ดี ใครบริการไม่ดี พร้อมทั้ง การตอบแทนให้แก่ผู้ที่ทำได้ดี ย่อมจะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีศักยภาพจนทำให้เป็นกลไก ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เกิดขึ้นเป็นชั่วครั้ง ชั่วคราว

6.การอบรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ให้แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพ การบริการลูกค้าที่สูงขึ้น

7.การบริการที่ดี ย่อมเกิดจากการที่มีพนักงานที่มีใจบริการแล้ว จะต้องมีการออกแบบระบบการบริการลูกค้าที่ดีอีกด้วย เพราะในแต่ละขั้นตอนที่ลูกค้าใช้บริการนั้น เป็นการสร้างความประทับใจที่ลุกค้าจะกลับมาใช้บริการอีก

8.ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้พัฒนาคนอื่นอยู่เสมอ มีความเข้าใจพนักงานที่มีผลงานไม่ดี และพยายามที่จะพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการทำงานมากขึ้น

ดังนั้น ผู้นำนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับองค์กร ซึ่งหลายๆองค์กรพยายามที่จะหาวิธีในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับให้เกิดขึ้น  เพื่อที่จะให้ผู้นำเหล่านี้ เป็นผู้ผลักดันความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กรในทุกๆด้าน ฉะนั้น หากองค์กรมีผู้นำที่ดีก็ย่อมจะส่งผลงให้องค์กรมีระดับบริการที่ดีอีกด้วย

คุณสมบัติของผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพ ที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องมี

องค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็สามารถที่จะได้รับคำชื่นชมว่ามีความสำเร็จได้ทั้งนั้น เพียงแค่มีองค์ประกอบในการทำงานดี ความสำเร็จก็รออยู่ไม่ไกลและที่สำคัญที่สุด คือ ผู้นำต้องดี เพราะถ้ามีผู้นำดีลูกน้องก็ไม่หลงทาง ฉะนั้นสิ่งที่ผู้นำองค์กรควรมี คือ

1.ผู้นำที่รู้จักตัดสินใจอย่างเด็ดขาด โดยจะเป็นคนที่พูดจาคำไหนคำนั้น ถือได้ว่าเป็นผู้นำที่ดีที่สุด บางครั้งการตัดสินใจดูเหมือนจะใช้ความคิดของตนเป็นใหญ่ไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ เพราะเขากำลังอยู่ในบทบาทซึ่งเป็นผู้นำและเขาจะติดตามรับผิดชอบไปจนเสร็จสิ้นทั้งกระบวนการ ถ้าผู้นำมีความมุ่งมั่น ตัดสินใจเร็ว ไม่โลเล เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยๆ ลูกน้องก็จะเกิดความมั่นใจ เชื่อถือ และสามารถทำงานได้โดยไม่สะดุดบ่อยๆ

2.มีความเป็นผู้นำ เพราะสำคัญที่สุด การลงมือที่เฉียบขาดและมีการประสานงานที่เฉียบแหลมมักอยู่ข้างหน้าผู้อื่นเสมอ ทั้งการคิด การแสดงความคิดเห็น การลงมือทำ และความรับผิดชอบ

3.ผู้นำที่มีจุดยืน มีอุดมการณ์ที่ชัดเจน ก็เป็นที่ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ถ้ามีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจนแล้วก็สามารถมุ่งหน้าไปยังจุดๆ นั้นได้ง่าย และเร็วขึ้น

4.ผู้นำที่ดีต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดี ทั้งในและนอกองค์กร บางครั้งนอกองค์กรอาจจะเป็นคนนิสัยดีเยี่ยม อัธยาศัยดี น่าคบหา แต่กับคนใกล้ตัวอย่างลูกน้องในองค์กร อาจจะเปลี่ยนนิสัยไปอยู่ขั้วตรงข้าม อย่างนั้นก็นับเป็นผู้นำที่ใช้ไม่ได้

5.มีบุคลิกภาพที่ดีเยี่ยม แต่งกายเหมาะสมกับรูปร่าง ฐานะทางสังคม ต้องดูสะอาดสะอ้าน ดูสุภาพ เข้างานสังคมได้อย่างไม่ขัดหูขัดตาและมีบุคลิกดึงดูดใจน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

6.มีการพูดจาด้วยความนุ่มนวล รู้จักไตร่ตรอง รู้จักสถานการณ์ และรู้จักคนที่เรากำลังเจรจาด้วย ความสำเร็จก็รออยู่ไม่ไกล ในการพูดนั้นต้องคิดก่อน มีการเตรียมการมาก่อน พูดอย่างสั้น กระชับ ตรงประเด็น จริงใจ เป็นธรรมชาติ

7.ผู้นำที่ดีต้องรู้จักลูกน้องของตนว่าใครเหมาะที่จะทำอะไร งานไหนควรให้ใครรับผิดชอบ คนไหนเก่งอะไร มีข้อบกพร่องด้านใดอยู่บ้าง ก็พยายามแก้ไขให้เขาสมบูรณ์แบบขึ้น การรู้จักนิสัยใจคอ นอกจากจะทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพขึ้นแล้วยังแสดงให้เห็นว่าผู้นำเอาใส่ใจต่อลูกน้องของเขาเป็นอย่างดี

8.รับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง เพราะบางทีลูกน้องอาจมีข้อเสนอดีๆ อีกทั้งการฟังลูกน้องพูดหรืออธิบายจะช่วยให้ลูกน้องทำงานอย่างสบายใจ ไม่รู้สึกกดดันมากนัก เมื่อมีปัญหาเขาจะกล้ามาถามหรือเสนอแนะในข้อที่เขาเห็นว่าเป็นทางเลือกที่ดีอีกด้วย

9.ผู้นำที่ดีต้องให้โอกาสลูกน้อง โดยเปิดโอกาสให้เขาได้ทำงานที่พิสูจน์ความสามารถของเขา ควรสนับสนุนและให้โอกาสในการสร้างผลงานของลูกน้องพร้อมทั้งผลักดันและสนับสนุน

10.สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ ความซื่อสัตย์ ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างของความซื่อสัตย์ต่อองค์กรและเป็นคนดีที่ไว้ใจได้ เพราะคุณสมบัตินี้จะเป็นแบบอย่างให้ลูกน้องตระหนักถึงคุณลักษณะที่ดีที่จะยึดถือความซื่อสัตย์ตามไปด้วย

ภาวะการเป็นผู้นำอย่างสร้างสรรค์ที่เรียนรู้กันได้

ภาวะผู้นำกับการทำงานเป็นทีม
การเป็นผู้นำในสภาพแวดล้อมใหม่นี้จะเป็นการทดสอบความสามารถของผู้บริหารในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเป็นผู้นำ การกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมในระยะยาวจำเป็นต้องมีมากกว่าอำนาจในการสั่งการ ภาวะผู้นำแบบเน้นความร่วมมือร่วมใจเป็นสิ่งที่จำเป็น และถือเป็นความท้าทายที่ผู้นำจำเป็นต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้ภาวะผู้นำแบบต่างๆ นอกจากนั้นทักษะการจูงใจจะเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารผลผลิตในยุคคลาวด์ ซึ่งผู้นำจะต้องแบกรับภาระโดยการทำงานแบบหลากหลายหน้างาน และการบริหารแบบข้ามทีมในหลากหลายสถานที่ ซึ่งทีมงานบางคนอาจไม่ได้เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง

ปัญหาใหญ่ของผู้บริหารในปัจจุบัน คือไม่สามารถทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้เพราะทีมงานขาดประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่สงสัยว่าจะทำอย่างไร จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่ขาดการคิดเชิงกลยุทธ์ และขาดทักษะเรื่องบริหารคน ถึงแม้ว่าจะมีความรู้ ความสามารถ ในงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ก็ตาม เพราะโดยตำแหน่งแล้วผู้บริหารไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียวอีกต่อไป ต้องบริหารงานผ่านทีมงานเป็นหลัก ซึ่งบุคคลซึ่งพร้อมที่จะพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา นนอกจากจะบริหารงานได้อย่างดีเยี่ยมแล้วยังสามารถริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เหนือความคาดหมายได้อีกด้วย นอกจากนั้นคุณลักษณะอื่นๆของผู้นำประเภทนี้คือ สามารถรับได้ทุกสถานการณ์ไม่มีความขัดแย้งเพราะมองปัญหาเป็นเรื่องธรรมดา พูดจานุ่มนวล ถูกต้องตามกาละเทศะ มีบุญญาบารมี มีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้า อยู่ตลอดเวลา มีสติรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา และมีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม

การเป็นผู้นำมีความสำคัญมากต่อการเป็นผู้บริหาร คนที่มีตำแหน่งบริหารแต่ยังไม่ถนัดในการเป็นผู้นำก็มีอยู่บ้าง สมัยนี้ความเป็นผู้นำสามารถเรียนกันได้และฝึกฝนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันมีผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในหลายองค์กร มองเห็นทะลุปรุโปร่งว่า การที่จะฝึกความเป็นผู้นำให้ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรนั้น แก่นแท้ที่เป็นหัวใจสำคัญที่ควรเริ่มต้นก่อน คือการฝึกให้ผู้บริหารสามารถคิดอย่างเป็นระบบและคิดแบบองค์รวมอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพราะการคิดเป็นที่มาของการกระทำทุกอย่างในทุกขั้นตอนของการบริหาร การทำงาน และการดำเนินชีวิตส่วนตัว

ทักษะที่สำคัญของผู้บริหารยุคใหม่ในองค์กรของการเป็นผู้นำ

1

ระบบการบริหารจัดการ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ แต่เมื่อนำเข้ามาในกับผู้คนในองค์กร ย่อมต้องมีการปรับแต่งให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรอย่างเหมาะสม มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาภายในที่เรื้อรังโดยไม่คาดคิด การที่ระบบบริหารทั้งหลายขาดประสิทธิภาพไป อาจกล่าวได้ว่ามาจากตัวผู้ใช้ ซึ่งมีความซับซ้อนทางอารมณ์นั่นเอง ด้วยความซับซ้อนของระบบสังคมในปัจจุบัน ทำให้มนุษย์นั้นมีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งในแง่ของประสบการณ์ การศึกษา ทัศนคติ ความเชื่อ ดังนั้นการสื่อสารเพื่อให้เข้าใจกันจึงเป็นไปได้ยากขึ้น ด้วยภาวะความเร่งรีบและการแข่งขัน ก็ทำให้การฟังลดน้อยลง ไม่เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน และบางครั้งก็เกิดเป็นความขัดแย้งที่ไม่พึงปรารถนา ความแบ่งแยก ความไม่ไว้วางใจต่อกันนั้น ส่งผลต่อระบบการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อีกทั้งพนักงานรุ่นใหม่ Gen Y ไม่ชอบถูกบังคับทางความคิดและจิตใจ และไม่อดทนอยู่ในบรรยากาศที่ไม่ชอบ พวกเค้ายังอายุน้อย จึงพร้อมที่จะเปลี่ยนงานได้ทุกเมื่อ จึงอาจกล่าวได้ว่า ปัญหาสำคัญที่องค์กรทั้งหลายต้องเผชิญ คือ “ปัญหาเรื่องคน” นั่นเองถ้าเกิดปัญหาข้อผิดพลาด ที่มีสาเหตุมาจากคน เราจะพบว่ามีผู้บริหารอยู่ 2 ประเภทที่จะใช้วิธีแก้ปัญหาที่ต่างกัน ผู้บริหารยุคเก่าคือ “เจ้านาย” ที่บริหารงานด้วยหลัก 6 บ. นั่นคือ ชอบสั่งการแบบขู่เข็ญโดยใช้อำนาจไม่สอนงาน เห็นอะไรดีไม่เคยชม ชอบตำหนิเห็นอะไรก็ผิดไปหมดถ้าตัวเองทำผิดหรือตัดสินใจพลาด ก็อ้างว่าเป็นเพราะคนอื่น แต่คนอื่นอย่าทำผิดมาจะถูกลงโทษทันที เขาไม่อยากเห็นใครเด่นกว่า ไม่ค่อยฟังความเห็นใคร

องค์กรยุคเก่าที่บริหารงานด้วย”ความกลัว” พนักงานจะรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่เกิดความไว้วางใจ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ก็จะซุกไว้ด้วยกลัวความผิด อาจทำให้ปัญหาเล็กน้อยก็ลุกลามไปจนยากที่จะแก้ไข คนที่ไม่อยากถูกตำหนิ ก็คอยระวังตัวแจ จนไม่กล้าทำอะไร เห็นสิ่งที่ไม่เวิร์คก็จะเฉยชา องค์กรจะเป็นยังไงก็ช่าง ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง องค์กรยุคใหม่ ควรหล่อเลี้ยงด้วย “ความรัก” ผู้บริหารยุคใหม่ ต้องแก้ปัญหาเรื่องคน และเรื่องการสื่อสารในองค์กรได้ ดังนั้นจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “เจ้านาย หรือ Boss” ที่เอาแต่สั่งการและตำหนิ ไปเป็น “ผู้หล่อเลี้ยง หรือ Mentor” เริ่มด้วยการรู้จัก และยอมรับในตนเองก่อน นำไปสู่ความเข้าใจผู้อื่น มีทักษะการสื่อสารที่ดีและมีความเห็นอกเห็นใจ ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน เกิดความรักและผูกพันซึ่งกันและกัน บรรยากาศการทำงานเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ทำให้พนักงานรู้สึกอยากทำงานด้วย อยากเห็นองค์กรเจริญเติบโต

การฝึกอบรมพัฒนาผู้นำในองค์กรที่ดีควรจะต้องมีเทคนิคดังนี้


การฝึกอบรมได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อปรับปรุงภาวะผู้นำในองค์กรเพื่อเพิ่มทักษะทั่วไปและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการจัดการ การจัดฝึกอบรมโดยส่วนใหญ่จะจัดสำหรับผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง มุ่งเน้นที่งาน ทั้งนี้การฝึกอบรมภาวะผู้นำสามารถจัดทำได้หลายแบบ ทั้งระยะสั้นที่เน้นเฉพาะด้านไปจนครอบคลุมทักษะในระดับกว้าง โดยรูปแบบของโปรแกรมการฝึกอบรมก็จะขึ้นอยู่กับการประยุกต์ทฤษฎีภาวะผู้นำในแต่ละทฤษฎี ซึ่งประสิทธิภาพในการฝึกอบรมนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบว่าดีแค่ไหน การออกแบบ การฝึกอบรมควรจะใช้พื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งการฝึกอบรมจะสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องมีส่วนประกอบด้วยกันดังนี้
-มีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ชัดเจน เพราะจะช่วยให้เป้าหมายของการฝึกอบรมกระจ่างชัด เนื่องจากการที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนนั้นจะช่วยบอกว่าการฝึกอบรมนี้มีคุณค่าอย่างไรต่อผู้เข้ารับการอบรม
-เนื้อหาการฝึกอบรมควรจะชัดเจนและมีความหมายพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจภาพรวมและสามารถจำเนื้อหาได้
-มีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเหมาะสม ในการฝึกอบรมควรจัดระบบและเรียงลำดับในทิศทางที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่ง่ายแก่การเรียนรู้และควรมีการหยุดพักเพื่อหลีกเลี่ยงการเหนื่อยล้า
-การฝึกอบรมควรมีความหลากหลาย อย่างเช่น ควรสลับด้วยการพูดคุยหรือกิจกรรม
-ควรให้ผู้เข้าอบรมได้ปฏิบัติที่ได้จากการเรียนรู้ โดยการลงมือทำนี้ควรมีทั้งในระหว่างการฝึกอบรมและเมื่อกลับไปทำงาน
-การฝึกอบรมสามารถช่วยให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น รวมถึงการให้กำลังใจเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจอย่างต่อเนื่อง
-มีการติดตามผลที่เหมาะสม การเรียนรู้ในบางเรื่องจึงควรมีการติดตามผลภายหลังการฝึกอบรม เพื่อทบทวนความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้ทักษะใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้มา การพูดคุยถึงปัญหาและความสำเร็จให้สนับสนุนเพิ่มเติม

จะเห็นได้ว่าการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้นำในองค์กรเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความรู้แบบบูรณาการ ตั้งแต่ความรู้ในเรื่องของทฤษฎีภาวะผู้นำ ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการเรียนรู้และเทคนิครวมทั้งอื่นๆ ดังนั้นการฝึกอบรมจะมีมีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อองค์กรเพราะบุคลากรจะได้รับภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม เพื่อนนำไปพัฒนาทั้งตนเองและองค์กรให้มีประสิทธ์ภาพได้

ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างทีมงานได้จะต้องเป็นคนที่ทำงานให้สำเร็จโดยเน้นทั้งงานเน้นทั้งคนและในการสร้างทีมงานที่ดี

27

เรื่องของผู้นำนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายองค์กรพยายามที่จะหาวิธีในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะให้ผู้นำเหล่านี้ เป็นผู้ผลักดันความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กร และจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในเรื่องของภาวะผู้นำนั้น ก็ยืนยันว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้น เป็นผลมาจากการที่ผู้บริหารของตนมีภาวะผู้นำ และสามารถนำองค์กร นำคน ให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ คุณสมบัติ 5 ประการในการเป็นผู้นำที่ดีผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ต้องเป็นคนที่มองเห็นภาพในอนาคตที่คนอื่นมองไม่เห็น มองเห็นโอกาสในอนาคตได้ และเมื่อมองเห็นภาพอนาคตแล้ว ก็ต้องสามารถกำหนดเป้าหมาย และแผนงานในการไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ฝันเฟื่องเพียงอย่างเดียว

ผู้นำที่ดีจะต้องกระจายงานให้ทีมงานอย่างเหมาะสม เป็นการนำแผนงานที่กำหนดไว้นั้น มากระจายสู่พนักงาน และทีมงาน โดยพิจารณาความเหมาะสมของพนักงานแต่ละคนให้เหมาะกับงานแต่ละอย่าง เพื่อให้เขาสามารถที่จะทำงานได้ตามที่ถนัด รวมทั้งให้โอกาสคนอื่นๆ ได้ทำงาน ผู้นำอาจจะต้องยอมรับความเสี่ยงในเรื่องนี้ กล่าวคือ ยอมที่จะไว้วางใจพนักงาน และเชื่อว่าพนักงานจะสามารถทำงานนั้นได้ ผมเห็นผู้นำหลายคนที่ใช้วิธีนี้กับลูกน้องของตนเอง ก็อาจจะมีลูกน้องที่ทำไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกน้องจะทำเต็มที่เพราะนายไว้ใจอย่างมาก ก็ไม่อยากทำให้นายผิดหวัง

ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างทีมงานได้ จะต้องเป็นคนที่ทำงานให้สำเร็จ โดยเน้นทั้งงาน เน้นทั้งคน และในการสร้างทีมงานที่ดี ผู้นำก็ต้องมีทักษะในการสื่อความที่ดี มีความเป็นธรรมกับพนักงานทุกคนในทีม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เวลาทำงานก็จะเน้นให้ทุกคนร่วมกันทำงาน ไม่มีการทำตัวเด่นเพียงคนเดียว หรือรับแต่ชอบ ไม่ยอมรับผิด ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานได้ มีพลังในการสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน และกระตุ้นให้พนักงานมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จได้ เหมือนกับที่ Jack Welch อดีต CEO ของ GE ได้ใช้คำว่า Energize ก็คือการทำให้คนอื่นมีพลังในการทำงานอยู่เสมอ

ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้พัฒนาคนอื่นอยู่เสมอ มีความเข้าใจพนักงานที่มีผลงานไม่ดี และพยายามที่จะพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการทำงานมากขึ้น ผู้นำที่ดีจะไม่ด่าพนักงานว่า “ทำไมโง่จัง แค่นี้ยังทำไม่ได้” (ถ้าทำได้ก็คงมาเป็นหัวหน้าของผู้นำคนนี้ไปแล้ว) แต่จะพยายามพัฒนาให้พนักงานทำงานให้ได้ ผู้นำที่ดีจึงเปรียบเสมือนครู ที่สอนพนักงานทั้งด้านความรู้ในการทำงาน และเป็นตัวอย่างสำหรับพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วย

ความจำเป็นในการฝึกอบรมที่ปรากฏชัดแจ้งในปัจจุบัน

27

ความจำเป็นในการฝึกอบรม หมายถึง สถานการณ์ที่เป็นปัญหาต่อผลสำเร็จของงานซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรม นั่นคือ สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่เหมาะสมนั่นเองจากความหมายของความจำเป็นในการฝึกอบรมดังกล่าวแล้วข้างต้น แสดงอย่างชัดเจนว่า สภาพการณ์ที่เป็นปัญหา ซึ่งได้เกิดขึ้นในหน่วยงานนั้น อาจมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน และมีเพียงบางสาเหตุเท่านั้นที่สามารถแก้ไขด้วยการฝึกอบรม ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจจำเป็นต้องแก้ไขด้วยวิธีการอื่น ๆ และการฝึกอบรมอาจเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งในการแก้ปัญหาเท่านั้นดังนั้น เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบดำเนินการฝึกอบรม ที่จะทำการสำรวจและวิเคราะห์เพื่อแยกแยะค้นหาปัญหา ซึ่งมีสาเหตุที่แท้จริง มาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติ ซึ่งก็คือการค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรม นั่นเอง และ การหาความจำเป็นในการฝึกอบรม จึงหมายถึง” การค้นหาสภาวะที่มีปัญหาเกี่ยวกับงานหรือบุคคลในองค์การ ซึ่งสามารถแก้ไข ได้ด้วยการฝึกอบรม เพื่อจะช่วยทำให้หน่วยงานหรือองค์การสามารถดำเนินงานไปสู่จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ได้ดีเพิ่มขึ้น”ในเมื่อการค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรมก็คือ การค้นหาปัญหา ผู้รับผิดชอบดำเนินการจึงควรจะต้องเข้าใจ ความหมายของคำว่า “ปัญหา” เสียก่อนว่า ปัญหาคือ สิ่งใดก็ตามที่เบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่พึงประสงค์ เนื่องจากโดยปกติแล้ว ในการดำเนินงานใดๆ ก็ตาม เราควรจะต้องมีการกำหนดจุดประสงค์หรือตั้งเป้าหมายไว้ก่อน แล้วจึงหาทางดำเนินการ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ แต่การดำเนินงานอาจประสบกับอุปสรรคหรือมีข้อขัดข้องต่าง ๆ ทำให้ผลของการดำเนินงาน ไม่ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ นั่นหมายถึง มีปัญหาเกิดขึ้น ดังแผนภูมิข้างล่างนี้

ความจำเป็นในการฝึกอบรมที่ปรากฏชัดแจ้งในปัจจุบัน หมายถึง สภาพการณ์ที่เป็นปัญหาข้อขัดข้อง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานได้อย่างชัดเจน จำเป็นจะต้องฝึกอบรมบุคคลที่เกี่ยวข้องเสียก่อน จึงจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้ เช่น พนักงานไม่สามารถใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบได้ ทำให้ผลผลิตของหน่วยงานตกต่ำ จึงจำเป็นต้องฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออุปกรณ์นั้นๆ เสียก่อน ความจำเป็นเช่นนี้เรียกสั้นๆได้ว่า เป็นความจำเป็นประเภท “ขัดข้อง”ความจำเป็นในการฝึกอบรมที่จะปรากฏในอนาคต เกิดจากปัญหาที่มีเครื่องชี้หรือส่อว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ในอนาคต ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นในอนาคตรวมทั้งเพื่อเป็นการรองรับการเปลี่ยนแปลง จึงทำการฝึกอบรมเสีย ในปัจจุบัน เช่น เมื่อบุคลากรได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากระดับผู้ปฏิบัติการเป็นระดับบริหารซึ่งต้องมีการบังคับบัญชาคนและควบคุมงาน บุคลากร เหล่านั้นจึงควรจะต้องรับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารงานเสียก่อนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น

ความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างเข้ามามีบทบาทในสถาบันฝึกอบรมผู้นำองค์กรในด้านต่างๆ

ผู้นำนับว่ามีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ ผู้นำจึงต้องอาศัยกลไก ยุทธศาสตร์ เทคนิคหรือกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาพนักงานซึ่งถือว่าเป็นลูกค้าคนสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระบบการศึกษาที่เน้นคุณภาพเป็นหลัก ในทำนองเดียวกันเราต่างถือว่าผู้นำเป็นหัวใจสำคัญต่อการปฏิรูปโรงเรียน โดยที่ผู้นำจำต้องบูรณาการเทคโนโลยีสู่ระบบโรงเรียน ควรดูแลให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนการวางแผนการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความหมาย

โดยเฉพาะปัจจุบันนี้จะเห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของคนไทยอย่างแยกไม่ออก รวมทั้งในระบบการศึกษาถือว่าเป็นระบบเปิดและเป็นกลไกสำคัญที่พัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความรู้ และความสามารถให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดจนการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในระดับสากล เพื่อไปสู่คุณภาพและนำมาพัฒนาสังคมไทยให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในอนาคต

ปัจจุบันนี้ฝ่ายบริหารระดับสูงของโรงงานอุตสาหกรรม ได้มองเห็นถึงความสำคัญของการจัดฝึกอบรมทรัพยากรกำลังคนหรือคนงานในหน่วยงานต่างๆ ให้มีความรู้และความชำนาญ เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ การจัดการฝึกอบรมนอกจากจะช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของคนงานให้ดีขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างทัศนคติและความรับผิดชอบในหน้าที่ของคนงานให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งผลที่ได้จากการฝึกอบรมจะมีส่วนช่วยให้ผลผลิตของโรงงานมีคุณค่าเพิ่มสูงขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุของความบกพร่องทางด้านเทคนิคการผลิต หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สัมผัสและมองเห็นสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยใช้โสตทัศนูปกรณ์อย่างเพียงพอ เลือกวิธีการสอนที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทดลองทำงานจริงๆ เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการฝึกบ่อยครั้งในเวลากำหนด ให้ฝึกจากวิธีง่ายไปหายากตามลำดับการทำงานแต่ละส่วน และตอนสุดท้ายให้ฝึกทำงานตั้งแต่ต้นจนสำเร็จขั้นสุดท้าย

ในส่วนของการให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานในสถานประกอบการก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเครื่องมือแก้ปัญหาของคนในองค์กร อันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จขององค์กรในที่สุด เพราะขึ้นชื่อว่า “คน” ในทุกหนทุกแห่งไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ และศาสนา ย่อมหลีกหนีไม่พ้นกับคำว่า “ปัญหา” พูดง่ายๆว่าปัญหากับคนเป็นของคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ที่ไหนมีคน ที่นั่นมีปัญหา

เมื่อคนหนีไม่พ้นคำว่า “ปัญหา” เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาและกำจัดปัญหาให้กับคนได้ก็คือ การให้คำปรึกษา (Counseling) เป็นทางออกและทางเลือกที่เหมาะสมกับหลายๆ สถานการณ์ในชีวิตคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตของคนที่ทำงานในองค์กร

เราต้องเข้าใจว่าคนที่มีอยู่รวมกันในองค์กรใดองค์กรหนึ่งนั้น มาจากต่างพ่อ ต่างแม่ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างชนชั้น ต่างวรรณะ ต่างวุฒิ ต่างการศึกษา และมีความต่างจิต ต่างใจกันเป็นพื้นฐาน เมื่อเข้าอยู่รวมกันโดยมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว การกระทบกระทั่งกันทั้งเรื่องของงานและเรื่องของส่วนตัวก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มากบ้างน้อยบ้าง สลับกันไปตามอารมณ์ของคนในแต่ละช่วงเวลา

ในทุกสังคม เรามักจะเห็นว่าเมื่อคนบางคนมีปัญหา คนบางคนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งมีทั้งผู้ให้คำปรึกษาเพราะความจำเป็น หรือเป็นผู้ให้คำปรึกษาแบบสมัครใจ มีทั้งผู้ที่มีความสามารถในการให้คำปรึกษาและผู้ที่ขาดความเข้าใจในหลักของการให้คำปรึกษา ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาได้บ้างไม่ได้บ้าง

เมื่อหันมามองในองค์กรของเรา จะพบว่าเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหาเขามักจะหาใครบางคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นผู้ให้คำปรึกษา ถ้าผู้ให้คำปรึกษาสามารถช่วยให้เขาลดระดับของปัญหาลงหรือแก้ปัญหาได้ ครั้งต่อๆไปเมื่อมีปัญหาเขาก็จะเดินเข้ามาหาอีก และคนที่เป็นผู้ให้คำปรึกษานี้จะได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นผู้นำกลุ่มทางจิตใจไปได้เหมือนกัน ถ้าผู้ที่เป็นผู้นำทางจิตใจของคนในองค์กรเป็นคนดีก็ดีไป แต่ถ้าผู้นำทางจิตใจอาศัยความได้เปรียบนี้ไปใช้ในทางที่ไม่สร้างสรรค์อาจจะเกิดปัญหาอันชวนให้ปวดหัวแก่การบริหารงานภายในองค์กรได้เหมือนกัน

จัดฝึกอบรมอย่างไร จึงจะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

การฝึกอบรมที่พนักงานไม่เคยนำไปใช้ประโยชน์ถือเป็นสิ่งที่สูญเปล่า เสียทั้งเวลา เสียทั้งงบประมาณไม่มีผู้บริหารคนไหนต้องการ การลงทุนที่สูญเปล่า จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ต้องตอบโจทย์ให้ได้ จะทำให้อย่างให้พนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว สามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำแนะนำต่อไปนี้ จะทำให้คุณสามารถจัดการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานให้สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกอบรมมาใช้กับองค์กรอย่างได้ผล
1. วิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงที่พนักงานจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม เช่น ทักษะที่ขาด หรือปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้มั่นใจว่าการอบรมที่คุณจัดขึ้นจะเป็นโอกาสในการพัฒนาการทำงานของพนักงานให้ดีขึ้นได้จริง เพราะหากคุณจัดการอบรมที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ จะเป็นการเปล่าประโยชน์และเสียเวลาโดยที่พนักงานไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร
2. ให้ข้อมูลพนักงานได้ทราบว่า การฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ หรือการเพิ่มขีดความสามารถให้กับทักษะที่มีอยู่แล้วนั้นมีความสำคัญอย่างไร และเชื่อมโยงให้พนักงานเห็นความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างการฝึกอบรมกับความสามารถของเขาที่จะทุ่มเทเพื่อความสำเร็จตามแผนการและเป้าหมายทางธุรกิจของบริษัท
3. ออกแบบการฝึกอบรมให้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และสามารถวัดผลสำเร็จได้ รวมถึงการให้ข้อมูลแก่พนักงานถึงวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมและวิธีการวัดผล เพื่อให้พนักงานทราบว่าลักษณะการฝึกอบรมเป็นอย่างไร บริษัทคาดหวังอะไรจากการฝึกอบรมดังกล่าว และมีแนวทางที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ของบริษัทต่อไป
4. การฝึกอบรมเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง แจ้งให้พนักงานทราบว่า การฝึกอบรมเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง ซึ่งพนักงานควรให้ความร่วมมือและตั้งใจฝึกอบรมอย่างจริงจัง ทั้งการเตรียมตัวก่อนการฝึกอบรม การเข้ารับการอบรมด้วยความกระตือรือร้น รวมทั้งการนำความรู้ไปต่อยอดไอเดียใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของพนักงาน
5. ควรให้พนักงานประเมินตนเอง หรือทำแบบฝึกหัดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้พนักงานได้คิดถึงหัวข้อการฝึกอบรมก่อนวันฝึกอบรมจริง และเมื่อพนักงานมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าแล้ว ช่วงเวลาฝึกอบรมจะเป็นช่วงเวลาอันมีค่าที่คุณสามารถจัดให้มีการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น หรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
6. ควรจัดให้หัวหน้างาน หรือผู้จัดการเข้าร่วมการฝึกอบรมด้วยเพื่อให้พวกเขาเข้าใจถึงบทบาทของผู้ที่อยู่ในระดับบริหารต่อการฝึกอบรม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นต้นแบบที่ดีในการเรียนรู้และการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ให้กับพนักงาน รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานสามารถประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มาให้เกิดประโยชน์ต่องานที่ทำด้วย
7. หัวหน้างานและพนักงานควรมีการพูดคุยทำความเข้าใจกันก่อนเริ่มการอบรม หัวหน้างานควรพูดคุยกับลูกนัองเป็นรายบุคคลถึงสิ่งที่คาดหวังว่าพนักงานจะได้รับจากการฝึกอบรม และหัวใจสำคัญของการฝึกอบรมคือการนำมาประยุกต์ใช้กับงานของแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม การอธิบายจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจนจะช่วยให้พนักงานเข้าใจบทบาทของตน และแสดงพฤติกรรมตามที่คาดหวังอย่างเหมาะสม
8. การให้รางวัลแก่พนักงานที่สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมมาใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นและจูงใจให้พนักงานเห็นความสำคัญกับการฝึกอบรม และการนำความรู้ไปใช้ ซึ่งบริษัทอาจให้การชื่นชมพนักงานโดยการประกาศรายชื่อพนักงานใน E-Newsletter ของบริษัท หรือติดที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ของบริษัท เป็นต้น

หากผู้จัดการฝึกอบรมมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการอบรม มีการนำความร่วมมือของทุกฝ่ายให้มาประสานกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท เชื่อว่าการฝึกอบรมจะไม่เป็นการลงทุนที่สูญเปล่าอย่างแน่นอน สิ่งที่จะได้กลับคืนมาก็คือไอเดียใหม่ ๆ ที่พนักงานตั้งใจนำมาประยุกต์ใช้อย่างดีที่สุด

การฝึกอบรมพนักงานจะทำให้องค์การมีพนักงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การพัฒนาบุคลากรด้วยการจัดโครงการฝึกอบรมนั้นจะส่งผล และเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับองค์การหรือหน่วยงานได้เพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและทัศนคติที่มีต่องานของบุคลากรผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมเป็นสำคัญ หากจะให้สามารถ ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือไปจากจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการ ฝึกอบรม และหลักการบริหารงานฝึกอบรมแต่ละขั้นตอนแล้ว ผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรมควรจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางสังคมศาสตร์ และ พฤติกรรมศาสตร์แขนงต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่นสังคมวิทยา จิตวิทยา และศาสตร์การจัดการ ซึ่งจะช่วยเอื้ออำนวยให้สามารถ กำหนดหลักสูตร และโครงการฝึกอบรมได้ง่ายขึ้น มีความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารบุคคลและการพัฒนาบุคคลด้วยวิธีการอื่นๆ นอกเหนือไปจากการฝึกอบรม มีความเข้าใจถึงหลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติต่อผู้เข้าอบรมได้อย่างเหมาะสม ตลอดจน เข้าใจถึงหลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์อยู่บ้างพอที่จะสามารถทำการสำรวจ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็น ในการบริหารงาน ฝึกอบรมได้ นอกจากนั้น ผู้ดำเนินการฝึกอบรมยังจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งด้านการเขียนและการพูดในที่ชุมนุมชน ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์ดีเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับกลุ่มผู้เข้าอบรม และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย

นอกจากการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ทัศนคติของผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรม ยังเป็นสิ่งสำคัญที่มีผล กระทบต่อการดำเนินงานฝึกอบรมอีกด้วย กล่าวคือ ผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรมเองจะต้องเป็นผู้ที่เห็น ความสำคัญของการฝึกอบรม ต่อการพัฒนาบุคลากร มีความเห็นสอดคล้องกับหลักการและแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม รวมทั้งควรจะต้องมีความเชื่อว่า การฝึกอบรมนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาบุคลากร และนำไปสู่การปรับปรุงการบริหารได้ ทัศนคติเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเขามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการบริหารงานฝึกอบรม ตลอดจนเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานที่เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ควรรู้ดังกล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง ดังนั้น เพื่อปูพื้นฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรม จึงจะขอเริ่มต้นคู่มือการจัดโครงการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรด้วยการกล่าวถึงแนวคิดและหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรเสียก่อน การพัฒนาบุคคล และการฝึกอบรมล้วนแต่มีลักษณะที่สำคัญๆ คล้ายคลึงกัน และเกี่ยวข้องกันจนดูเหมือน จะแยกออกจากกันได้ยาก แต่ความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างทั้งสามเรื่องดังกล่าว จะช่วยทำให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะของกระบวนการฝึกอบรม ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมเพิ่มมากขึ้น

ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้นจากการฝึกอบรม

การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรตามแนวตั้งขององค์การ

เป็นการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้หรือสร้างความสามารถ เฉพาะสำหรับบุคลากร ในแต่ละตำแหน่งหรือสายงาน โดยใช้หลักสูตรซึ่งกำหนดขึ้นโดยเฉพาะตามความจำเป็นในการฝึกอบรมของตำแหน่งนั้นๆ และมักจะเน้นถึงแนวการปฏิบัติงานในรายละเอียด ซึ่งผู้เข้าอบรมจะนำไปใช้ในการทำงานได้มากกว่าการฝึกอบรมแนวนอน เช่น การฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่บุคคล การฝึกอบรมเลขานุการผู้บริหาร เป็นต้น นอกจากนี้การฝึกอบรมบุคลากรเฉพาะในแต่ละหน่วยงาน เช่น การฝึกอบรมบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่ ก็อาจจัดเป็นการฝึกอบรมประเภทนี้ได้ เพราะผู้จัดฝึกอบรมสามารถกำหนดหลักสูตรที่เป็นความจำเป็นในการฝึกอบรม เฉพาะสำหรับบุคลากรในหน่วยงานนั้นได้เช่นเดียวกัน

การฝึกอบรมจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจริงจากการทำงานในเรื่องนั้นๆ ที่ตระหนักดีว่าเพื่อให้บุคคลประสบความสำเร็จตามเป้าหมายธุรกิจ องค์กรควรจะต้องฝึกอบรมให้ความรู้เพิ่มทักษะให้แก่พนักงาน สร้างแรงจูงใจ ให้การศึกษาเรื่องแนวโน้มธุรกิจ-เครื่องมือในการบริหารงานใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น มีผลการวิจัยทางวิชาการที่ยืนยันชัดเจนว่าประสิทธิภาพในงานเพิ่มมากขึ้นจากการฝึกอบรม โดยพนักงานที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดียวกันนั้น จากการศึกษาพบว่าพนักงานที่ได้รับการอบรมอย่างเป็นทางการจะมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าพนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม

การนำเอาความจำเป็นในการฝึกอบรมซึ่งมีอยู่ชัดเจนแล้วว่า มีปัญหาใดบ้าง ที่จะสามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร และพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงเป็นด้านใดนั้นมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นหลักสูตร โดยอาจประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม หมวดวิชา หัวข้อวิชา วัตถุประสงค์ ของแต่ละ หัวข้อวิชา เนื้อหาสาระหรือแนวการอบรม เทคนิคหรือวิธีการอบรม ระยะเวลา การเรียงลำดับหัวข้อวิชาที่ควรจะเป็น ตลอดจนการกำหนดลักษณะของวิทยากรผู้ดำเนินการฝึกอบรม เพื่อจะทำให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจนทำให้สิ่งที่เป็นปัญหาได้รับการแก้ไขลุล่วงไปได้

ประโยชน์ในการจัดอบรมภายในองค์กร

1.สามารถเลือกหลักสูตรอบรมและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญให้เหมาะกับความต้องการขององค์กร
2.เป็นการเพิ่มพูนความรู้เชิงลึกให้กับคนในองค์กร เพราะสามารถเจาะจงประเด็นปัญหาได้ตรงจุด
3.เป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
4.ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 200 % เมื่อยื่นขออนุมัติจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
5.ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางและมีความสะดวก เพราะพนักงานไม่ต้องออกไปอบรมนอกสถานที่
6. สามารถฝึกอบรมและพัฒนาคนได้เป็นจำนวนมากในคราวเดียวกัน