เทคนิคการฝึกอบรมและการฝึกผู้นำองค์กรในด้านต่างๆ

เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สัมผัสและมองเห็นสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยใช้โสตทัศนูปกรณ์อย่างเพียงพอ เลือกวิธีการสอนที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทดลองทำงานจริงๆ เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการฝึกบ่อยครั้งในเวลากำหนด ให้ฝึกจากวิธีง่ายไปหายากตามลำดับการทำงานแต่ละส่วน และตอนสุดท้ายให้ฝึกทำงานตั้งแต่ต้นจนสำเร็จขั้นสุดท้าย

ในส่วนของการให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานในสถานประกอบการก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเครื่องมือแก้ปัญหาของคนในองค์กร อันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จขององค์กรในที่สุด เพราะขึ้นชื่อว่า “คน” ในทุกหนทุกแห่งไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ และศาสนา ย่อมหลีกหนีไม่พ้นกับคำว่า “ปัญหา” พูดง่ายๆว่าปัญหากับคนเป็นของคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ที่ไหนมีคน ที่นั่นมีปัญหา

เมื่อคนหนีไม่พ้นคำว่า “ปัญหา” เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาและกำจัดปัญหาให้กับคนได้ก็คือ การให้คำปรึกษา (Counseling) เป็นทางออกและทางเลือกที่เหมาะสมกับหลายๆ สถานการณ์ในชีวิตคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตของคนที่ทำงานในองค์กร

เราต้องเข้าใจว่าคนที่มีอยู่รวมกันในองค์กรใดองค์กรหนึ่งนั้น มาจากต่างพ่อ ต่างแม่ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างชนชั้น ต่างวรรณะ ต่างวุฒิ ต่างการศึกษา และมีความต่างจิต ต่างใจกันเป็นพื้นฐาน เมื่อเข้าอยู่รวมกันโดยมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว การกระทบกระทั่งกันทั้งเรื่องของงานและเรื่องของส่วนตัวก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มากบ้างน้อยบ้าง สลับกันไปตามอารมณ์ของคนในแต่ละช่วงเวลา

ในทุกสังคม เรามักจะเห็นว่าเมื่อคนบางคนมีปัญหา คนบางคนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งมีทั้งผู้ให้คำปรึกษาเพราะความจำเป็น หรือเป็นผู้ให้คำปรึกษาแบบสมัครใจ มีทั้งผู้ที่มีความสามารถในการให้คำปรึกษาและผู้ที่ขาดความเข้าใจในหลักของการให้คำปรึกษา ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาได้บ้างไม่ได้บ้าง

เมื่อหันมามองในองค์กรของเรา จะพบว่าเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหาเขามักจะหาใครบางคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นผู้ให้คำปรึกษา ถ้าผู้ให้คำปรึกษาสามารถช่วยให้เขาลดระดับของปัญหาลงหรือแก้ปัญหาได้ ครั้งต่อๆไปเมื่อมีปัญหาเขาก็จะเดินเข้ามาหาอีก และคนที่เป็นผู้ให้คำปรึกษานี้จะได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นผู้นำกลุ่มทางจิตใจไปได้เหมือนกัน ถ้าผู้ที่เป็นผู้นำทางจิตใจของคนในองค์กรเป็นคนดีก็ดีไป แต่ถ้าผู้นำทางจิตใจอาศัยความได้เปรียบนี้ไปใช้ในทางที่ไม่สร้างสรรค์อาจจะเกิดปัญหาอันชวนให้ปวดหัวแก่การบริหารงานภายในองค์กรได้เหมือนกัน

ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการให้คำปรึกษาในองค์กรเกิดขึ้นตามยถากรรม ไร้รูปแบบ ไร้กระบวนยุทธ์ หรือเกิดกระบวนการให้คำปรึกษาแบบลองผิดลองถูก องค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบการให้คำปรึกษาขึ้นภายในองค์กร

ความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างเข้ามามีบทบาทในสถาบันฝึกอบรมผู้นำองค์กรในด้านต่างๆ

ผู้นำนับว่ามีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ ผู้นำจึงต้องอาศัยกลไก ยุทธศาสตร์ เทคนิคหรือกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาพนักงานซึ่งถือว่าเป็นลูกค้าคนสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระบบการศึกษาที่เน้นคุณภาพเป็นหลัก ในทำนองเดียวกันเราต่างถือว่าผู้นำเป็นหัวใจสำคัญต่อการปฏิรูปโรงเรียน โดยที่ผู้นำจำต้องบูรณาการเทคโนโลยีสู่ระบบโรงเรียน ควรดูแลให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนการวางแผนการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความหมาย

โดยเฉพาะปัจจุบันนี้จะเห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของคนไทยอย่างแยกไม่ออก รวมทั้งในระบบการศึกษาถือว่าเป็นระบบเปิดและเป็นกลไกสำคัญที่พัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความรู้ และความสามารถให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดจนการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในระดับสากล เพื่อไปสู่คุณภาพและนำมาพัฒนาสังคมไทยให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในอนาคต

ปัจจุบันนี้ฝ่ายบริหารระดับสูงของโรงงานอุตสาหกรรม ได้มองเห็นถึงความสำคัญของการจัดฝึกอบรมทรัพยากรกำลังคนหรือคนงานในหน่วยงานต่างๆ ให้มีความรู้และความชำนาญ เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ การจัดการฝึกอบรมนอกจากจะช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของคนงานให้ดีขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างทัศนคติและความรับผิดชอบในหน้าที่ของคนงานให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งผลที่ได้จากการฝึกอบรมจะมีส่วนช่วยให้ผลผลิตของโรงงานมีคุณค่าเพิ่มสูงขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุของความบกพร่องทางด้านเทคนิคการผลิต หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สัมผัสและมองเห็นสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยใช้โสตทัศนูปกรณ์อย่างเพียงพอ เลือกวิธีการสอนที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทดลองทำงานจริงๆ เลือกวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการฝึกบ่อยครั้งในเวลากำหนด ให้ฝึกจากวิธีง่ายไปหายากตามลำดับการทำงานแต่ละส่วน และตอนสุดท้ายให้ฝึกทำงานตั้งแต่ต้นจนสำเร็จขั้นสุดท้าย

ในส่วนของการให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานในสถานประกอบการก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเครื่องมือแก้ปัญหาของคนในองค์กร อันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จขององค์กรในที่สุด เพราะขึ้นชื่อว่า “คน” ในทุกหนทุกแห่งไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ และศาสนา ย่อมหลีกหนีไม่พ้นกับคำว่า “ปัญหา” พูดง่ายๆว่าปัญหากับคนเป็นของคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ที่ไหนมีคน ที่นั่นมีปัญหา

เมื่อคนหนีไม่พ้นคำว่า “ปัญหา” เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาและกำจัดปัญหาให้กับคนได้ก็คือ การให้คำปรึกษา (Counseling) เป็นทางออกและทางเลือกที่เหมาะสมกับหลายๆ สถานการณ์ในชีวิตคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตของคนที่ทำงานในองค์กร

เราต้องเข้าใจว่าคนที่มีอยู่รวมกันในองค์กรใดองค์กรหนึ่งนั้น มาจากต่างพ่อ ต่างแม่ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างชนชั้น ต่างวรรณะ ต่างวุฒิ ต่างการศึกษา และมีความต่างจิต ต่างใจกันเป็นพื้นฐาน เมื่อเข้าอยู่รวมกันโดยมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว การกระทบกระทั่งกันทั้งเรื่องของงานและเรื่องของส่วนตัวก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มากบ้างน้อยบ้าง สลับกันไปตามอารมณ์ของคนในแต่ละช่วงเวลา

ในทุกสังคม เรามักจะเห็นว่าเมื่อคนบางคนมีปัญหา คนบางคนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งมีทั้งผู้ให้คำปรึกษาเพราะความจำเป็น หรือเป็นผู้ให้คำปรึกษาแบบสมัครใจ มีทั้งผู้ที่มีความสามารถในการให้คำปรึกษาและผู้ที่ขาดความเข้าใจในหลักของการให้คำปรึกษา ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาได้บ้างไม่ได้บ้าง

เมื่อหันมามองในองค์กรของเรา จะพบว่าเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหาเขามักจะหาใครบางคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นผู้ให้คำปรึกษา ถ้าผู้ให้คำปรึกษาสามารถช่วยให้เขาลดระดับของปัญหาลงหรือแก้ปัญหาได้ ครั้งต่อๆไปเมื่อมีปัญหาเขาก็จะเดินเข้ามาหาอีก และคนที่เป็นผู้ให้คำปรึกษานี้จะได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นผู้นำกลุ่มทางจิตใจไปได้เหมือนกัน ถ้าผู้ที่เป็นผู้นำทางจิตใจของคนในองค์กรเป็นคนดีก็ดีไป แต่ถ้าผู้นำทางจิตใจอาศัยความได้เปรียบนี้ไปใช้ในทางที่ไม่สร้างสรรค์อาจจะเกิดปัญหาอันชวนให้ปวดหัวแก่การบริหารงานภายในองค์กรได้เหมือนกัน

การฝึกอบรมพนักงานจะทำให้องค์การมีพนักงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การพัฒนาบุคลากรด้วยการจัดโครงการฝึกอบรมนั้นจะส่งผล และเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับองค์การหรือหน่วยงานได้เพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและทัศนคติที่มีต่องานของบุคลากรผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมเป็นสำคัญ หากจะให้สามารถ ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือไปจากจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการ ฝึกอบรม และหลักการบริหารงานฝึกอบรมแต่ละขั้นตอนแล้ว ผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรมควรจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางสังคมศาสตร์ และ พฤติกรรมศาสตร์แขนงต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่นสังคมวิทยา จิตวิทยา และศาสตร์การจัดการ ซึ่งจะช่วยเอื้ออำนวยให้สามารถ กำหนดหลักสูตร และโครงการฝึกอบรมได้ง่ายขึ้น มีความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารบุคคลและการพัฒนาบุคคลด้วยวิธีการอื่นๆ นอกเหนือไปจากการฝึกอบรม มีความเข้าใจถึงหลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติต่อผู้เข้าอบรมได้อย่างเหมาะสม ตลอดจน เข้าใจถึงหลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์อยู่บ้างพอที่จะสามารถทำการสำรวจ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็น ในการบริหารงาน ฝึกอบรมได้ นอกจากนั้น ผู้ดำเนินการฝึกอบรมยังจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งด้านการเขียนและการพูดในที่ชุมนุมชน ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์ดีเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับกลุ่มผู้เข้าอบรม และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย

นอกจากการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ทัศนคติของผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรม ยังเป็นสิ่งสำคัญที่มีผล กระทบต่อการดำเนินงานฝึกอบรมอีกด้วย กล่าวคือ ผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรมเองจะต้องเป็นผู้ที่เห็น ความสำคัญของการฝึกอบรม ต่อการพัฒนาบุคลากร มีความเห็นสอดคล้องกับหลักการและแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม รวมทั้งควรจะต้องมีความเชื่อว่า การฝึกอบรมนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาบุคลากร และนำไปสู่การปรับปรุงการบริหารได้ ทัศนคติเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเขามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการบริหารงานฝึกอบรม ตลอดจนเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานที่เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ควรรู้ดังกล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง ดังนั้น เพื่อปูพื้นฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรม จึงจะขอเริ่มต้นคู่มือการจัดโครงการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรด้วยการกล่าวถึงแนวคิดและหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรเสียก่อน การพัฒนาบุคคล และการฝึกอบรมล้วนแต่มีลักษณะที่สำคัญๆ คล้ายคลึงกัน และเกี่ยวข้องกันจนดูเหมือน จะแยกออกจากกันได้ยาก แต่ความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างทั้งสามเรื่องดังกล่าว จะช่วยทำให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะของกระบวนการฝึกอบรม ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมเพิ่มมากขึ้น